skw603 alumni's 80
วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
  สี่เทศกาล
11 December 2009


งานจุดพลุวันชาติออสเตรเลีย ที่ริมแม่น้ำยาร่า วิวที่เห็นอยู่ฝั่ง City

วันนี้จะชวนเพื่อนๆ ไปดูงานเทศกาลในเมลเบิร์น 4 แบบ ที่เรากับน้องๆ คนไทยที่นี่ไปเยี่ยมเยียนมา ที่จริงไปหาของกินมากกว่า เมืองนี้มีเทศกาลมากมายเหลือเกินเพราะเขาโปรโมทตัวเองว่าเป็น Creative city คุ้นๆ ใช่ไหมหล่ะคำนี้ เพราะพี่ไทยเพิ่งประกาศนโยบายเอาอย่างกับเขาบ้าง แต่เมืองนี้เขาทำมาเป็นสิบปีแล้ว เลยดูเป็นเรื่องเป็นราวกว่าบ้านเรามาก เช่น ออสเตรเลียโอเพ่น (แข่งขันเทนนิสเวมเบอร์ดัน) ฟอร์มูล่าวัน (แข่งรถสูตรหนึ่ง) เทศกาลตลกนานาชาติ เทศกาลละครนานาชาติ นี่ก็มีคอนเสิร์ตแม่ Withney Houston ต้นปีหน้า เป็นต้น แต่งานที่เอ่ยไปยังไม่ได้เข้าดูซักอย่างนะ เพราะค่าตั๋วมันแพง คงต้องล้างจานเก็บตังค์เป็นเดือนเลยถึงจะดูได้ครบทุกรายการ งั้นออร์เดิร์ฟด้วยเทศกาลเที่ยว ที่เที่ยวฟรีและมีของกินอร่อยด้วยงาน 4 แบบคือ งานวันชาติออสเตรเลีย (26 มกราคม 52) งานเทศบาลมุมบา (9 มีนาคม 52) เทศกาลอาหารและวัฒนธรรมไทย (22 มีนาคม 52) และงานวันพ่อ (6 ธันวาคม 52)



ขบวนพาเหรดชุมชนชาวไทยในเมืองเมลเบิร์น ตอนเดินมาถึงหน้า Melbourne Town Hall


เริ่มต้นที่งานวันชาติออสเตรเลีย (Australia National Day) เขาถือเอาวันที่ 26 เป็นวันชาติเพราะเป็นวันที่กองทัพเรืออังกฤษขึ้นฝั่งออสเตรเลียที่อ่าวโบตานี เมืองซิดนีย์เป็นครั้งแรก และประกาศครอบครองออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ ในวันงานมีกิจกรรมเยอะแยะไปหมด เช่น ประกาศเกียรติคุณคนทำความดีให้เมืองนี้ การแสดงกลางแจ้ง ในร่ม แกเลอรี่ พิพิธภัณฑ์ชมฟรี ชมการแสดงในโรงละครและทานอาหารฟรีทั้งวัน เอมไปเลย โดยตอนเช้ามีเดินขบวนพาเหรดของสมาคมคนนานาชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองเมลเบิร์น แน่นอนหล่ะ เราแหกขี้ตาตื่นแต่เช้าเพื่อไปรอชมขบวนพาเหรดของคนไทยนั่นเอง ไม่น่าเชื่อว่าเมลเบิร์นจะเป็นเมืองนานาชาติขนาดนี้ ได้เห็นหลายขบวนที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเจอ เช่น ประเทศตุรกี ธิเบต ลัทเวีย มาซีโดเนีย และประเทศเล็กๆ ในแอฟริกาโน่นเลย หลากหลายดีแท้ ดีแล้ว~ จะได้ไม่รู้สึกเป็นพลเมืองชั้นสอง เพราะเอเชียเราครองเมลเบิร์นจนฝรั่งออสซี่จะกลายเป็นพลเมืองชั้นสองแทนพวกเราไปแล้ว ว่าแล้วก็ 55555 อย่างสะใจ


อาเฮียมีแห่มังกร ไม่แปลกละ คนออสซี่เห็นจนชินตา

มาเจอของพี่ไทยมีแห่พญานาคเว้ย ไอ้หัวทองถึงกับงง มีแบบนี้ด้วยเหรอวะ


ขบวนพาเหรดชาวมาเซโดเนีย ชื่อแปลกดีเนาะ คงอยู่ประเทศในกลุ่มรัซเซียเก่า คนถือป้ายก็หน้ารักซ้า


เอ้ามาดูขบวนไทยเราดีกว่า อยู่ช่วงกลางๆ แต่คึกคัก แฟนตาซี วี้วิ๊ดมาก เพราะมีเสียงกลองยาวดังมาตั้งแต่ไกล ตามด้วยหนุ่มสาวรำกลองยาว สีสันสวยงาม แต่ทีเด็ดเหนือคาดคิดคือ ขบวนแห่พญานาค เวร้ยเพื่อนๆ ~ จีนมันคงงงปนเครียดเนาะ เพราะมังกรมันมีคู่แข่งซะแล้ว แถมเราเชิดเอามันส์ ท่วงท่า pattern ไม่มีทั้งนั้น กูเอามวยวัดเข้าสู้ นักข่าวก็งงด้วย มิหน้ามาทำข่าวกันตรึม กะเอาไปลงข่าวกระหน่ำซ้ำเติมให้คนจีนได้ปวดม้ามได้อีก ดูขบวนจนถึงบ่าย ท้องร้องจ๊อกๆ เลยแวะทานอาหารจนเต็มคราบ ว่าแล้ว ก็ได้เวลาไปดูการจุดพลุที่ริมแม่น้ำยาราแล้ว พวกเราสี่คนชวนกันไปนั่งฝั่ง South bank ตรงสวน Melbourne Botanic Garden สักสามทุ่มกว่าพลุชุดแรกก็โชว์พาว (เล็กๆ) ให้พวกเราได้ชมแล้ว ที่ต้องรอให้ถึงสามสี่ทุ่ม เพราะตอนนี้เป็นหน้าร้อน กว่าฟ้าจะมืดก็สามทุ่มกว่า เที่ยงคืนคนยังเดินชิล ชิล เต็มเมืองอยู่เลยเพราะบรรยากาศเหมือนสองทุ่ม พลุออกแนวน่ารัก ลูกเล็กลูกน้อยรวมๆ กัน จุดอยู่สักครึ่งชั่วโมงก็จบ พวกเราเลยไปนั่งทานกาแฟดูนาดาลตีเทนนิส ที่ถ่ายทอดสดอยู่ Fed Square จนอิ่มอกอิ่มใจแล้วค่อยกลับ


สมัยเด็กดีดลูกแก้วจนเซียน ตอนแก่เลยไว้ลาย เอามาใช้กับการยิงปืน สอยตุ๊กตามาฝากน้องๆ คนละตัวสองตัว

มองไปฝั่ง City เห็นเครื่องเล่นละลานตา


อาหารตา วอลเลย์บอลชายหาด

วิวมุมสุงจากชิงช้าสวรรค์ ซ้ายมือเห็นฝูงคนนั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยารา เพื่อรอดูการจุดพลุ และมี MB Performance Art Centre (อาคารยอดแหลม) และตึกสูงที่สุดในเมลเบิร์นชื่อ Euraga เป็น Background

งานที่สองคือ เทศกาลมุมบา (Mumba Festival) ชื่อภาษาท้องถิ่นชาวอะบอริจินละมั้ง มันคืองานกาชาดขอนแก่นดีๆ นี่เอง แต่เน้นเครื่องเล่นอลังการ หวาดเสียว เยี่ยวแตก เป็นหลัก จัดที่เดิมคือสองฝั่งริมแม่น้ำยารา พวกเรามาตอนเย็นเพราะตื่นกันซะบ่าย ในงานนอกจากมีเครื่องเล่นเยอะแล้วยังมีของกินและดนตรีหลายวง พวกเราเลยได้ไปนั่งหย่อนตูดหลายที่ ฟรีทั้งนั้น ชอบมาก :) พอฟ้ามืดก็ได้เวลาผจญภัยกันแล้ว เริ่มตั้งแต่ซุ้มปาเป้า นั่งชิงช้าสวรรค์ ขี่รถแข่ง และขึ้นเครื่องเล่นเยี่ยวราด เพื่อเอาไอ้ที่ทานไปเมื่อตอนเย็นออกมาให้หมด (พูดเล่นนะไม่กล้าทำจริงหรอกเสียดายของ) ที่เราชอบมากคือขึ้นชิงช้าสวรรค์ ไม่ใช่เพราะแก่แล้วไม่ผาดโผนนะ แต่ชอบดูวิว โห~~~เมลเบิร์นยามกลางคืนนี้สวยจริงๆ ไฟประดับอาคารและสวนทำให้เมืองมีเสน่ห์ไปอีกแบบนึง คือเงียบ สงบ สวยงาม และเป็นผู้ดี เหมือนชมผู้หญิงยังไงก็ไม่รู้ ชิงช้าสวรรค์ที่นี่ให้นั่งหลายรอบดี คุ้มเงินมาก นั่งเสร็จลงมาดูโชว์จุดพลุ กลางแม่น้ำ โห~~ ถ้าไอ้จอร์จมันมาเห็น คงต้องตะโกนว่าพระเจ้าช่วยกล้วยทอด มันสุดยอดมากซาร่าห์ พวกเราเกิดมาเพื่อดูสิ่งนี้ พลุสวยคนละเรื่องกับวันชาติเลย ตื่นเต้น ลูกเล่นแพรวพราว มีเยอะมาก และจุดเป็นชั่วโมง ช่างต่างกันราว BTS กับ MRT ดูพลุจนน้ำหูน้ำตาแตก หูหนวก ใบ้กินกันไปพักใหญ่ กลับมาถึงบ้านแบบงง งง


เวทีหลักเป็นการประกวดนางนพมาศ หนุ่มๆ ดูตรึม


เวทีที่สอง เวทีมวย ส่วนเวทนี้สาวๆ ตรึมกว่า

ส่วนสุดท้ายเป็นลานอาหาร อันนี้พวกเราชอบมาก ถึงมากที่สุด

เพราะมีขนม อาหารไทยที่หากินยากเพียบเลย แต่แอบแพงนิดนึง


ปิดท้ายด้วยรูปนี้ Reunion ผีจากดินแดนถิ่นราบสูงเหมือนกัน ระหว่างผีตาโขนกับผีทะเล



เปลี่ยนบรรยากาศงานเทศกาลฝรั่งมางานบรรยากาศไทบ้านบ้าง เอ้ย ~~~ แบบไทย ไทยบ้าง คือ งานอาหารและวัฒนธรรมไทย (Thai Food and Festival) จัดที่ Federation Square ตรงข้างริมแม่น้ำเจ้าเดิมนี่แหละ แบ่งงานเป็นสามโซนคือโซนเวทีกลางมีพวกนาฎศิลป์ รำไทยเดิม ไทยประยุกต์ ไฮไลท์ก็คือการประกวดนางนพมาศ เวทีที่สองคือเวทีมวย โห อันนี้เจ๋ง เอามาฝรั่งมาตีกัน แล้วมันตีกันแบบเอาตาย ปากแตก จมูกฉีก เลือดกระจายบนเวทีกันเลย คนเชียร์ก็ซาดิสต์ เชียร์กันเป็นบ้าเป็นหลัง โดยเฉพาะสาวๆ มาเวทีนี้ตรึมเพราะนักมวยแต่ละตัว แมร่งหล่อโคตรพ่อ เวทีสุดท้ายคือเวทีอาหารและของมึนเมา นี่แหละของโปรด ไปเวทีนี้ก่อนเลย โดยเฉพาะเบียร์สิงห์มาเปิดบูธและเล่นดนตรีสด โหบรรยากาศเหมือนกินเบียร์อยู่หน้าเซนทรัลเวิร์ลคูณสองเลยอะ เพราะมีสาวๆ นานาชาติแต่งตัวกันแบบเปิดเผย มาเดินโชว์ความขาวกันละลานตาไปหมด (โอย ขอทิชชูหน่อยเลือดกำเดาไหล) งานนี้จัดทั้งวัน ไม่น่าเชื่อเลย ไอ้น้องที่มันเป็นสต๊าฟในงานเล่าให้ฟังว่าแต่ละวันมีคนมาเป็นหมื่น มองไปอีกรอบ เออ! กูเชื่อละ แมร่งดูป้ายสปอนเซอร์ดิ เยอะยิ่งว่างานไหมผูกเสี่ยวบ้านกูอีก


สถานที่จัดงาน Collingwood Town Hall มางานซะหัววันเลยตู

สาวๆ รำถวายพระพร งามแต้ๆ

ดื่มถวายพระพร


ปิดท้ายด้วยงานบันเทิง มีดนตรี วง Outsider (เพลงใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย, ทิ้ง ค่าย RS)
เป็นวงเปิด ตามด้วย วงฟอร์เอฟเวอร์ แต่ละวงแมร่ง...สมวัยกรูจริงๆ

ปิดท้ายด้วยงานเทศกาลดีๆ ที่ทำให้เป็นผู้เป็นคนขึ้นมาบ้างคือ งานวันพ่อ (King Birthday Anniversarites) ปีนี้ไปจัดกันนอกเมืองถึง Collingwood Town Hall โน่น ต้องดูแผนที่ เสิร์ฟเน็ท วางแผนการเดินทางกันอย่างดี เพราะไม่เคยไปแถมบอกเป็นงานกาลาดินเนอร์อีก ไปสายคงได้อายชาวบ้านอีก สุดท้ายที่ไหนได้นั่งรถไฟจากสถานี Flinder แค่สิบห้านาทีถึงแล้ว แถมออกจากสถานีรถไฟ Collingwood ปุ๊บเจอ Town Hall กระแทกหน้าแบนๆ ปั๊บ สรุปว่ารั่ว มาตั้งแต่ไก่โห่ อายกว่าเดิม แถมแต่งตัวหล่อซ้า ใส่เสื้อนอกเต็มยศแต่อากาศตอนหกโมงเย็นเมืองนี้เสือกมีแดดจ้าและร้อนโฮกยังกับบ่ายสามโมง กว่าประตูจะเปิดก็หกโมงครึ่ง รอไปซิ เหงื่อแตกยังกับกรรมกร เข้าไปในงานค่อยยังชั่วหน่อย คนไทยตรึม เสียงคุยกันโช้งเช้งเหมือนอยู่ตลาดยิ่งเจริญ อาซ้อ อาเฮีย อากู๋ เมาส์กันซ้า แบบนานๆ ทีได้เจอเพื่อนคนไทยเป็นฝูงขนาดนี้ งานเป็นทางการช่วงแรกๆ กงศุลพูดสดุดีในหลวง พวกเราร้องเพลงสดุดีมหาราชา ดื่มถวายพระพร จุดเทียนชัย ดู Utube ตอนท่านเสด็จออกมหาสมาคมเมื่อวันที่ห้า แล้วก็รำถวายพระพร จากนั้นก็ได้เวลากินและดูการแสดง ยิ่งช่วงหลังๆ ยิ่งเลอะเทอะ มีทั้งคาร์บาเร่ย์ไปจนถึงดันดารา กินอิ่มกลับละ ก่อนที่จะทนไม่ไหว ไม่ใช่วิ่งเต้นประกวดดันดารากับเขานะ แต่เห็นบาร์เหล้าและเบียร์สิงห์ล่อตาล่อใจอยู่อีกด้านนึงของงาน กลัวจะวิ่งไปหามันแล้วกลับบ้านไม่เป็นหน่ะสิ

~~~~~~@@@@@@@@@~~~~~~~

 
ติดตามข่าวคราวอัพเดทของเพื่อนเก่าห้อง 6/3 ศรีสะเกษวิทยาลัย รุ่นที่ 80

ภาพถ่ายของฉัน
ชื่อ:
ตำแหน่ง: Melbourne, Victoria, Australia

HIPPO is crazy architect student. I was born at E-sarn so my snout so flat within the square face, and shape angle chin but so sadly that I roughly bad on speaking Laos. I believe that eating "Pla Dake" everyday will increase my native language skill, that's why i'm really enjoy eat Som Tum Laos everyday. Currently, I'm doing post graduated course at school of ABP, Melbourne University. I found that one of the best way to made myself overcome the lonely moments at here is joining Blogger because it is very easy way that available me to keep in touch with u guys. I wish, at lease 3 years at one of most world liveable city, will be both enrich and reward my life and study. U r welcome to survey my small world and also to catch up u soon. Cheer :)

คลังบทความ
กรกฎาคม 2009 / สิงหาคม 2009 / กันยายน 2009 / ตุลาคม 2009 / พฤศจิกายน 2009 / ธันวาคม 2009 / มีนาคม 2010 / เมษายน 2010 /


Powered by Blogger

สมัครสมาชิก
บทความ [Atom]